 |
ท้องว่างความจำดีกว่าท้องอิ่ม |
 |
|
นักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาพบว่าฮอร์โมนที่มีชื่อว่า เกรลิน สามารถเพิ่มเร่งสร้างตัวเชื่อมสัญญาณประสาทของสมองส่วนที่ก่อกำเนิดความจำ ขึ้นได้ ทำให้เชื่อว่าการศึกษาครั้งนี้ อาจช่วยให้พบยาที่ใช้แก้อาการความจำ และการเรียนรู้เสื่อมอย่างที่เกิดในโรคอัลไซเมอร์ได้
คณะผู้ศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยเยล ได้รายงานไว้ในวารสาร ประสาทวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ว่า กระเพาะที่ว่างเปล่าจะขับฮอร์โมนเกรลินเข้าสู่กระแสโลหิต และไปปลุกตัวเชื่อมสัญญาณประสาททั้งสมองให้แข็งขันขึ้น นักวิทยาศาสตร์ รู้มาก่อนแล้วว่าฮอร์โมนนี้จะออกฤทธิ์ต่อส่วนหนึ่งของสมองส่วนหน้า ที่ควบคุมกระบวนการสำคัญต่างๆ ของการดำรงชีวิต แต่ยังไม่อาจรู้ด้วยว่ามันไปทำให้เกิดอะไรขึ้น
ทีมนักวิจัยเคยพบต่อมาว่ามันดูเหมือน ว่ามันมีผลต่อการทำงานของบริเวณส่วนที่สองของสมอง ที่มีรูปร่างคล้ายม้าน้ำ อันมีหน้าที่สำคัญกับการเรียนรู้
รายงานกล่าวต่อไปว่า การศึกษาทำให้ ได้หลักฐานว่า ฮอร์โมนเกรลินอาจจะควบคุมการทำหน้าที่ของสมองชั้นสูง และอาจจะเป็นโมเลกุลเชื่อมความสามารถในการเรียนรู้ กับพลังงานการเผาผลาญอาหาร
ศาสตราจารย์สเตเฟน บลูม ผู้เชี่ยวชาญการควบคุมอาการความหิว แห่งวิทยาลัยอิมพีเรียลอันมีชื่อเสียงของกรุงลอนดอน กล่าวว่า ความจำ ของคนเราอาจปิดเปิดสวิตช์ได้ และมักจะเปิดสวิตช์ขึ้นตอนฉุกเฉินขึ้นเป็นบางครั้ง"
ที่มา : ไทยรัฐ วันที่ 22 กพ. 49
|
|