โครงการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด ตอนที่ 5 การดื่มสุรากับโรคหัวใจ
  การดื่มสุรากับโรคหัวใจ

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า คนที่ดื่มสุราจัดเป็นประจำจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้มากกว่าคนที่ดื่มน้อยกว่า หรือคนที่ไม่ดื่มสุราเลย

เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ และยังอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจด้วย




อะไรที่เรียกว่าดื่มพอควร

จากการศึกษาพบว่า การดื่มสุรา 1-2 แก้ว/วัน มีโอกาสเกิดโรคหัวใจน้อยกว่าคนที่ไม่ดื่มสุราเลย

เนื่องจากปริมาณแอลกอฮอล์ที่เล็กน้อยจะช่วยเพิ่มระดับ HDL cholesterol ในเลือด แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ไม่ดื่มสุราเราไม่แนะนำให้คุณหันมาดื่มสุรา

ถ้าคุณกำลังตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาทางสุขภาพที่สุราอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

อย่างไรก็ตามถ้าคุณเป็นคนที่ดื่มสุราเล็กน้อยอยู่แล้ว คุณก็ไม่ควรเพิ่มปริมาณการดื่มที่มากกว่า 2 แก้ว/วัน 1 แก้วดังกล่าวหมายถึง เบียร์ 12 ออนซ์ หรือไวน์ 5 ออนซ์ หรือสุรามีดีกรีสูง ๆ 1 ½ออนซ์





ภาวะติดสุรา (Alcoholism)

การติดสุราเป็นปัญหารุนแรงก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพอย่างมาก พบว่าคนที่ดื่มสุรา 1 ใน 10 คน จะติดสุราจนถึงภาวะ alcoholism

สุราอย่างเดียวไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิด alcoholism แต่พบว่า alcoholism พบในคนที่มีประวัติในครอบครัว แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อม





การวินิจฉัยการติดสุรา

การติดสุราอาจมีผลจากการดื่มปริมาณมากเกินไป หรือจากรูปแบบการดื่ม และ alcoholism สามารถวินิจฉัยได้จาก

1. การตรวจสุขภาพ

2. การซักประวัติ

3. จากการตอบแบบสอบถาม





วิธีหนึ่งที่ใช้ในการตรวจสอบภาวะการติดสุราเรียกว่า CAGE ซึ่งจะถามคำถามดังต่อไปนี้

1. คุณเคยรู้สึกต้องการลดปริมาณการดื่มของคุณหรือไม่

2. คุณเคยรู้สึกรำคาญคนทีวิจารณ์คุณเกี่ยวกับการดื่มสุราของคุณหรือไม่

3. คุณเคยรู้สึกผิดในการดื่มสุราหรือไม่

4. คุณเคยรู้สึกต้องการสิ่งที่ทำให้คุณตาสว่างหรือไม่ เช่น ดื่มสุราทันทีหลังตื่นนอน

ถ้าคุณตอบว่าใช่ 2 ข้อหรือมากกว่า แสดงว่าคุณต้องปรึกษาแพทย์ได้แล้ว

ที่มา : รศ.นพ.ดร. กิติพันธ์ วิสุทธารมย์
http://www.bangkokhealth.com/drugs_htdoc/drugs_health_detail.asp?Number=9220


ปิด